Generation What คือโครงการแบบสำรวจอินเตอร์แอคทิฟ และ เรียลไทม์ ที่สร้างขึ้นโดย Upian และ Yami 2 ในฝรั่งเศส โดยร่วมมือกับ ABU (Asia Pacific Broadcasting Union) รวมถึงสถานีโทรทัศน์ต่างๆในเอเชียแปซิฟิก โดยใจความสำคัญคือการเติบโตของ Generation What ในภาพกว้างซึ่งจัดทำขึ้นในปี 2013 โดยประเทศฝรั่งเศสได้จัดทำการสำรวจขนาดใหญ่ขึ้นมา และได้พุ่งเป้าไปที่คนอายุ 18 ถึง 34 ปี โครงการนี้ได้กระจายไปทั่วยุโรปในปี 2016 และกลุ่มประเทศอาหรับในต้นปี 2018 ปัจจุบันประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกได้เข้าร่วม เพื่อทำใครงการนี้ให้เป็นงานระดับโลกของเอเชียแปซิฟิกอย่างแท้จริง
โครงการนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
คำตอบของฉันจะเป็นความลับใช่ไหม?
แน่นอน สำคัญที่สุดคือคำตอบทั้งหมดจะเป็นความลับ เพราะเราจะไม่ถามชื่อของคุณ โดยเราต้องการพียงแค่ข้อมูลในเรื่องอายุ เพศ สถานที่และรายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาหรืออาชีพของคุณเพื่อช่วยให้เราสร้างภาพลักษณ์ของคนทั้งรุ่นได้อย่างแม่นยำที่สุด ในเช่นนี้จะช่วยให้เราสามารถหาสัดส่วนของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯที่ต้องทำงานไปพร้อมกับการเรียนหนังสือเพื่อนำเงินไปชำระค่าเล่าเรียน หรือระบุได้ว่ามีคนหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 23 ปีจำนวนเท่าใดที่มีความรู้สึกด้อยค่าในอาชีพที่พวกเขาทำ
โดยข้อมูลและรายละเอียดที่เราเก็บรวบรวมเมื่อคุณตอบคำถามในเบื้องต้นจะถูกเก็บไว้เป็นเอกเทศเพื่อป้องกันการระบุตัวตน และถ้าคุณต้องการที่จะลงทะเบียนโดยใช้อีเมลของคุณ คุณก็จะได้รับเพียงแค่ลิงค์ที่เชื่อมโยงกับคำตอบของคุณเพื่อให้คุณสามารถค้นหาและทำแบบสำรวจต่อในข้อที่คุณทำค้างไว้
สุดท้ายนี้จะไม่มีข้อมูลหรือคำตอบที่คุณได้ให้ไว้ในเว็บไซต์นี้ให้กับบุคคลที่สามไม่ว่าในกรณีใดๆและจะไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะนอกเหนือจากในรูปแบบของผลสำรวจ
วิธีการตรวจวัดลักษณะเป็นอย่างไร
เพื่อที่จะตรวจวัดลักษณะของคนในช่วงรุ่นอายุ 18-34 ปี เราเลือกที่จะใช้แนวทางสามระดับดังนี้:
- แนวทางการวัดในแง่ของปริมาณโดยอิงจากแบบสำรวจ
- แนวทางการวัดในแง่ของคุณภาพโดยอิงจากวิดีโอสารคดี
- แนวทางการวัดในแง่ของการเปรียบเทียบโดยอิงจากแง่มุมในโครงการรูปแบบต่างๆของภูมิภาคเอเชียแปซีฟิก ซึ่งรวมไปถึงวิดีโอและแผนที่แบบโต้ตอบ
1) ผลการสำรวจ
คำตอบของ 170 คำถามในแบบสำรวจทั้งหมดจะถูกบันทึกและดูได้แบบเรียลไทม์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือผลลัพธ์และจำนวนคำตอบที่ได้รับอาจแตกต่างกันไปหากเข้าดูในเวลาที่ต่างกัน นอกจากนี้เราสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าตัวเลขที่รวบรวมโดยแบบสำรวจนั้น เป็นข้อมูลดิบซึ่งไม่ได้มีการตรวจวัดหรือคำนวนแต่อย่างใดสำหรับผลลัพท์ที่จะแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่ทำแบบสำรวจ โดยข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ได้เที่ยงตรงทั้งหมดเนื่องจากปริมาณประชากรของประเทศที่เข้าร่วม
ลองมาดูตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นกัน เช่นคำตอบของคำถามนี้ "คุณมองอนาคตของคุณเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่" ได้แบ่งกันระหว่างคำตอบ ใช่ 78% และ ไม่ 22% นั่นหมายความว่าหากมีผู้ตอบคำถามนี้ทั้งหมด 3,122 คน โดย 2,435 คนตอบว่า "ใช่" และอีก 687 คนตอบว่า "ไม่" ตัวเลขเหล่านี้จะไม่ได้นับรวมกับจำนวนคนที่กดข้ามคำถาม (การคลิกที่คำถามถัดไป) หรืออิงกับอายุ เพศ สถานที่ สังคมและอาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจะเป็นกรณีของสถาบันสำรวจ
ดังนั้นอาจจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์นักหากจะกล่าวว่า 78% ของเยาวชนไทยหรือหนุ่มสาวชาวไทยทั้งหมด “มองอนาคตของตัวเองไปในทางที่ดี” แต่ก็พอบอกได้ว่า 78% ของผู้ทำแบบสำรวจนั้น “มองอนาคตตัวเองเป็นไปในทางที่ดี” อย่างไรก็ตามยังมีตัวกรองเพื่อคัดกรองผลลัพท์ตามเกณฑ์บางประการที่จะสร้างความคิดเห็นต่อแนวของคำตอบด้วย
คุณสามารถดูคำตอบทั้งหมดได้ ที่นี่
2) วิดีโอสารคดี
เราได้แบ่งคำถามในแบบสำรวจออกเป็น 21 หัวข้อ ซึ่งมีตั้งแต่ความเห็นต่อวิกฤตเศรษฐกิจ ไปจนถึงความรัก ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองหรือความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
โดยแต่ละชุดคำถามจะประกอบไปด้วยวิดีโอสั้นเกี่ยวกับการตอบคำถามและแนวคิดของเยาวชนไทย ซึ่งจะเป็นการตอบคำถามชุดเดียวกันกับแบบสำรวจในเว็บไซต์ โดยผู้ตอบแต่ละคนจะมีลักษณะหรือพื้นเพที่ต่างกันไป ซึ่งจะได้เห็นถึงปฏิกริยา การตั้งคำถาม ความลังเลใจ ความเชื่อมั่น ในอีกแง่หนึ่งคือ สถิติในตัววิดีโอจะได้รับการปรับปรุงจากตัวเลขที่รวบรวมผ่านแบบสำรวจ นอกจากนี้หากคุณลงทะเบียนด้วยอีเมลของคุณ จะทำให้ระบบสามารถบันทึกคำตอบของคุณและจะทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบคำตอบของตัวเองกับคำตอบโดยรวมของคนอื่นๆได้
เนื่องมาจากคำถามของแบบสำรวจบางอันเปลี่ยนไปหลังจากที่การถ่ายทำวิดีโอสารคดีได้เสร็จสิ้นไปแล้ว ทำให้เกิดกรณีที่ผู้คนในวิดีโอพูดหรือตอบคำถามไม่ตรงกันกับผู้ที่ทำแบบสำรวจในเว็บไซต์
นอกจากอัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของเยาวชนไทยแล้ว ใน tab “Asia Pacific World” คุณสามารถดูผลสำรวจที่รวบรวมจากประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก รวมถึงวิดีโอที่มีรูปแบบที่เหมือนกันทั้ง 21 อัน ของแต่ละท้องที่
ในส่วนนี้ของเว็ปไซต์ไม่เพียงช่วยให้คุณเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆในประเทศของคุณ แต่ยังรวมถึงคนอื่นๆในประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจนี้ด้วย
คุณสามารถดูวิดีโอของประเทศไทยทั้งหมดได้ ที่นี่
3) นิยามคนในช่วงอายุ 18-34 ปี ในหนึ่งคำ
เพื่อให้ได้ภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ที่สมบูรณ์ เราได้ถามผู้ที่ทำแบบสำรวจในเว็บไซต์ให้คิดคำนิยามของตัวเองขึ้นมานอกเหนือจากคำว่า "Generation Y, Generation Facebook, Generation Hard Times, Generation Endgame" โดยผู้ใช้สามารถนิยามคำออกมาแบบไหนก็ได้โดยที่ไม่เกิน 25 ตัวอักษร
คุณสามารถค้นหาคำแนะนำทั้งหมดได้ ที่นี่
หากมีคำถามหรือต้องการจะแสดงความคิดเห็น
ติดต่อเราได้ที่นี่: [email protected]